เจ้าสาวเป็นลม! หลังทราบว่าสามี หัวล้าน ลั่นจะไม่แต่งกับคนหัวล้าน

เจ้าสาวเป็นลม! หลังทราบว่าสามี หัวล้าน ลั่นจะไม่แต่งกับคนหัวล้าน

วิวาห์ล่ม หลังจากที่ ภรรยาทราบความจริงว่าสามี  หัวล้าน เจ้าสาวถึงกับเป็นลม ก่อนจะตื่นมาและลั่นว่าจะไม่แต่งกับคนหัวล้าน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว เดอะไทมส์ออฟอินเดีย รายงานว่า เจ้าสาวปฏิเสธที่จะแต่งงานกับเจ้าบ่าว หลังจากที่พบว่าเจ้าบ่าวนั้นหัวล้านและสวมวิกปิดศีรษะมาตลอดในช่วงที่ทั้งสองคบหาดูใจกัน

โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ในประเทศอินเดีย 

ซึ่งในระหว่างที่ เพื่อนและญาติฝ่ายเจ้าบ่าวแห่ขบวนแต่งงานไปยังหมู่บ้านของหญิงสาว ในระหว่างพิธีแลกเปลี่ยนพวงมาลัยนั้น ฝั่งเจ้าสาวก็สังเกตได้ว่าฝั่งชายจัดเครื่องสวมศีรษะบ่อยครั้ง เมื่อเธอตรวจสอบดีๆก็พบว่าว่าที่สามีของเธอหัวโล้นก่อนวัยอันควร และสวมวิกปิดบังมาตลอด และเมื่อเธอทราบความจริงเธอกับเป็นลมกลางงานวิวาห์ เมื่อเธอได้สติกลับมาเธอก็ปฏิเสธเสียงแข็งว่าเธอจะไม่แต่งงานกับสามี แม้ว่าครอบครัวของทั้งสองจะพยายามโน้มน้าวมากเพียงใดก็ตาม

หลังจากที่เกิดเหตุวุ่นวายและปากเสียงของทั้งสองฝ่าย ทั้งครอบครัวของฝั่งชายและฝั่งหญิงได้เดินหน้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไรก็ดีหลังจากที่สถานการณ์เย็นลง ทั้งสองฝ่ายก็ได้ถอนแจ้งความและจะหารือเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดของทั้งสองฝ่าย

แบบสำรวจประชาชนในประเทศยูเครนเผย ประชาชนหนุน เซเลนสกี ผู้นำยูเครนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 91 เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว BBC รายงาน ผลสำรวจประชาชนถึงความเห็นชอบต่อตัวนาย โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 91 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นวสามเท่าหากเทียบกับเมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ส่วนอีก ร้อยละ 6 คือไม่สนับสนุน และร้อยละ 3 คือไม่ได้ตัดสินใจ

โดยแบบสำรวจนี้ได้ทำการสอบถามประชาชนทั่วประเทศกว่า 2 พันคน ทั้งนี้ประชาชนในเขตปกครองตนเองไครเมียและบริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของยูเครนไม่ได้ถูกถามในแบบทดสอบครั้งนี้ ซึ่งจากการสอบถามเพิ่มเติม ประชาชนร้อยละ 70 เชื่อว่าพวกเขาจะสามารถขับไล่การรุกรานจากกองทัพรัสเซียได้

นอกจากการสนับสนุน เซเรนสกี แล้ว การสนับสนุนต่อกองทัพยูเครนก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน นับตั้งแต่ก่อนการรุกรานจากกองทัพรัสเซีย

ทางการรัสเซีย ประกาศยกระดับเตือนภัยขีปนาวุธ ‘นิวเคลียร์’ เป็นระดับพิเศษ เตรียมพร้อมยิง โมโหหลังถูกกลุ่มชาติตะวันตกคว่ำบาตร คัดค้านรัสเซียบุกยูเครน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ สำนักข่าว BBC รายงานว่า นาย วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ออกมาประกาศเพิ่มระดับเตือนภัยการใช้หัวรบนิวเคลียร์เป็นระดับเตือนภัยพิเศษ ซึ่งผู้นำรัสเซียกล่าวว่าการประกาศครั้งนี้เพื่อเป็นตอบโต้ท่าทีของชาติตะวันตกที่แข็งกร้าวต่อประเทศรัสเซีย ขณะที่รุกรานประเทศยูเครน

ซึ่งก่อนหน้านี้นาย ปูติน เคยได้กล่าวขู่ผู้นำจากหลายประเทศว่า “ผู้ใดที่กล้าขัดขวางเรา” ในการรุกรานประเทศยูเครน จะต้องเผชิญกับผลกระทบที่เลวร้าย ระดับที่ไม่เคยมีใครได้เคยเห็นในประวัติศาสตร์มาก่อน ซึ่งนักวิเคราะห์ได้ตีความว่าทางการรัสเซียเตรียมพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์ หากประเทศตะวันตกขัดขวางการรุกราน ทั้งนี้การประกาศนี้ไม่ได้หมายความว่า ทางการรัสเซียจะยิงหัวรบนิวเคลียร์แต่อย่างใด

ด้านทางการสหรัฐฯได้ออกมาตอบโต้ประกาศครั้งนี้ว่าการตัดสินใจของนายปูตินเพื่อยกระดับความขัดแย้งในประเทศยูเครนเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ในขณะนี้มีรายงานว่ามีประชาชนเสียชีวิตแล้ว 352 ศพ และมีประชาชนได้รับบาดเจ็บอีก 1,674 ราย

ไขข้อสงสัย สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ นาโต้คืออะไร ไทยเป็นสมาชิกหรือไม่

หลายคนอาจสงสัย สมาชิกนาโต้ มีกี่ประเทศ สืบเนื่องมาจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จึงทำให้องค์การหลาย ๆ องค์การได้ออกมามีบทบาทครั้งสำคัญเกี่ยวกับสงครามในครั้งนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นองค์การที่ชื่อว่า “นาโต้” ดังนั้นในวันนี้ The Thaiger Thailand ขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับองค์การที่ว่านี้ ว่าเขามีบทบาทอะไรในระดับนานาชาติ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนี้กับประเทศไทยเป็นอย่างไร เราไปศึกษาพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

นาโต้ คืออะไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับองค์การนาโต้กันก่อน ซึ่งชื่อเต็มของเขาคือ “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (North Atlantic Treaty Organisation – NATO) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2492

ซึ่งในวันนั้นมีการลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือทั้งหมด 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และโปรตุเกส

บทบาทของนาโต้ ชาติสมาชิกในองค์การนี้ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่ชาติสมาชิกถูกโจมตีด้วยอาวุธ ซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของนาโต้ คือการจัดตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจาก “รัสเซีย” ที่แผ่ขยายอำนาจเข้าไปสู่ประเทศแถบยุโรป ในช่วงหลังสงครามโลก

อย่างที่บอกว่าเป้าหมายดั้งเดิมคือการต่อต้านรัสเซีย จึงทำให้รัสเซียในยุคนั้นเลือกที่จะตอบโต้ด้วยการก่อตั้งพันธมิตรทางทหารของตัวเองขึ้นในหมู่ชาติคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกที่เรียกว่า องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Pact) ในปี พ.ศ. 2498

แนะนำ : ดูดวงไพ่ยิปซี | รีวิวที่พัก | รีวิวคาเฟ่ | วิธีลดน้ำหนัก | รีวิวอนิเมะ ญี่ปุ่น